หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

สมาชิกกลุ่ม


1.ไท รัตนชำนอง ม.4/2 เลขที่ 10
 
2.ชิดชนก แซ่ลี้ ม.4/2 เลขที่ 20

3.อติคุณ สกุลวงศ์ ม.4/2 เลขที่ 30

4.สุวรี พรหมลิภณกุล ม.4/2 เลขที่ 40


5.พรนภา ก่อนสุรินทร์ ม.4/2 เลขที่ 50

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์(Software)หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออาจเรียกว่า โปรแกรมก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง
           ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1.
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer)
หมายถึงโปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้

1.1  OS (Operating System)
คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุดและสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่างๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำก่อนปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกันแต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้

คำอธิบาย: * DOS (Disk operating System)

คำอธิบาย: * UNIX

คำอธิบาย: * LAN
คำอธิบาย: * WINDOWS

คำอธิบาย: * Windows NT
คำอธิบาย: * OS/2
1.2Translation Programคือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องหรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ

คำอธิบาย: *Assembler

คำอธิบาย: *Interpreter

คำอธิบาย: *Compiler
1.3  Utility Programคือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น
14.Diagnostic Program
คือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งขึ้นบนจอภาพให้ทราบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer)
หมายถึงโปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเองเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.1 User Program  คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เองโดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์เช่น ภาษา BSDIC, COBOL, PSDCSL, C, ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ
 2.2 Package Programคือโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่างเช่น
คำอธิบาย: *Word Processor

คำอธิบาย: *Spreadsheet

คำอธิบาย: *Database

คำอธิบาย: *
โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านการสร้างรูปภาพและกราฟฟิกต่างๆ รวมทั้งงานทางด้านสิ่งพิมพ์ การทำโบรชัวร์ แผ่นพับ นามบัตรเช่น CorelDraw, Photoshop, Harvard Graphic, Freelance Graphic, PowerPoint, PageMaker เป็นต้น
Package Program สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท
1. โปรแกรมทางด้าน Word Processor

2. โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet

3.
โปรแกรมทางด้าน Database

4.
โปรแกรมทางด้าน Graphic

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. องค์ประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)
      สามารถแบ่งส่วน ประกอบของฮาร์ดแวร์ออกได้เป็น 5 หน่วยที่สำคัญ ดังนี้
         1.1
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
         1.2
หน่วยความจำ (Memory Unit)
         1.3
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU หรือ Central Processing Unit)
         1.4
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storge)
         1.5
หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit)
2. องค์ประกอบทางด้านซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง โปรแกรมหรือชุดของคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
     
ซอฟต์แวร์ แบ่งออกได้ 3 ประเภท
        2.1  
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)   หมายถึงชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป  ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด
                        1.
ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบปฏิบัติการ (Operating System --OS)
                        2.
ซอฟต์แวร์จัดการอุปกรณ์ต่อพ่วง (Device Driver Software)
                        3.
ซอฟต์แวร์การสื่อสาร(Communications Software)
                        4.
ซอฟต์แวร์ช่วยพัฒนาโปรแกรม (Program Development Software)
                        5.
ซอฟต์แวร์อำนวยความสะดวก (Utility Software)

         2.2
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
                         คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ  
         2.3
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package)
       
       เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์ทีมีผู้จัดทำไว้เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆโดยผู้ใช้คนอื่นๆสามารถนำซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไปใช้กับข้อมูลของตนได้  แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลงหรือแก้ไขโปรแกรมได้
3. องค์ประกอบทางด้านบุคคลากร (Personnel)ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดองค์ประกอบทางด้านบุคลากร
บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
           1.
หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager หรือ Electronic Data Processing Manager)
 
          2. บุคคลากรทางด้านระบบ (System)      ประกอบด้วยบุคคลากรที่มีตำแหน่งดังต่อไปนี้
               2.1
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst หรือ SA)
              2.2 นักเขียนโปรแกรมระบบ (System Programmer  หรือ SP)
              2.3 บุคคลากรทางด้านการเขียนโปรแกรม                   
แบ่งออกได้เป็นอีก 2 แบบ
                   -
งานการสร้างโปรแกรมประยุกต์  (Application Programming)
                   -
งานการบำรุงรักษาโปรแกรม  (Maintenance Programming)                     
        3.
ดีบีเอ (DBA หรือ DataBase Administrator) 

        4.
ผู้ปฏิบัติการ (Operator) 

        5.
ผู้ใช้ (User) 


4. องค์ประกอบทางด้านข้อมูล (Data)
 
     ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์  เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้น  เพื่อนำไปใช้ในโปรแกรมและผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา

หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก
2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะขาดไม่ได้เลยคือหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่ง ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
          1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
          2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
          3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป
3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการได้
4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
         ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
          4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
          4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)